ในยุคที่ธุรกิจและการตลาดขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ทำให้ “ข้อมูล” ของลูกค้ากลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่าและมีความสำคัญสำหรับธุรกิจมาก ๆ เพราะเราสามารถต่อยอดธุรกิจจากข้อมูลที่มี เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า PDPA คืออะไร?
ซึ่งกฎหมาย PDPA ที่จะมีการประกาศใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากลูกค้าทั้งในรูปแบบออฟไลน์ หรือออนไลน์ หากมีการเก็บข้อมูลโดยไม่ถูกต้อง อาจมีความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ได้
ถ้าใครยังไม่รู้ว่า PDPA คืออะไร? วันนี้ EasyPDPA จะพาทุกคนมารู้จักกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA แบบเจาะลึก จัดเต็ม!
หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล แต่ยังไม่รู้ว่า PDPA คืออะไร? อีกทั้งยังไม่รู้ว่า PDPA จะประกาศใช้ 1 มิถุนายน 2565 นี้
กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้เราทราบ และ/หรือได้รับความยินยอมจากเราในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน
ในปัจจุบันบริษัทหรือนักการตลาดอาจได้รับหรือเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ของลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Mobile-Banking การขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งและ GPS บนมือถือ หรือแม้แต่การเก็บคุกกี้จากการใช้บริการเว็บไซต์ต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการสร้างกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act: PDPA) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อให้บริษัท พนักงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งถ้าบริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลทันที โดยไม่ได้มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน และ/หรือรวมถึงไม่ได้มีการขอความยินยอมก่อนสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องมีการขอความยินยอม จะกลายเป็นการกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม PDPA และอาจมีความผิดได้
เมื่อเราเข้าใจว่า PDPA คืออะไร? ทีนี้เราก็มารู้จักกับความหมายและประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลกัน ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) เป็นข้อมูลที่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลที่เป็นบุคคลธรรมดาคนๆนึงได้ ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างข้อมูล
ถ้าข้อมูลไหนที่ไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ เช่น ข้อมูลบริษัท จะไม่ถือว่า เป็นไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล และไม่อยู่ภายใต้บังคับตาม PDPA เลย
นอกจากเราจะต้องรู้จักกับข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปแล้ว เรายังต้องรู้จักและระมัดระวังการใช้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งในแง่ของการทำงาน สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติได้ PDPA จึงกำหนดโทษที่หนักขึ้นหากใช้ข้อมูลนั้นไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจรวมถึงโทษอาญา ที่กรรมการต้องติดคุก
หลังจากรู้จักกับประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่เรารวบรวมมาให้แล้ว เราก็มาทำความรู้จักกับผู้ที่หน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA กันบ้าง
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชั้น 3 ถ.ดอนนก อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์. 077-272734 โทรสาร. 077-287080 E-mail.
สงวนลิขสิทธิ พ.ศ. 2565 Copy right © 2022 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ภาพประกอบจาก Freepik.com ,Pngtree.com